พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตราที่ 4-5

มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้
(1) "การจราจร" หมายความว่า การใช้ทางของผู้ขับขี่ คนเดินเท้า หรือคนที่จูงขี่ หรือไล่ต้อนสัตว์
(2) "ทาง" หมายความว่า ทางเดินรถ ช่องเดินรถ ช่องเดินรถ ประจำทาง ไหล่ทาง ทางเท้า ทางข้าม ทางร่วมทางแยก ทางลาด ทาง โค้ง และลานที่ประชาชนใช้ในการจราจร และให้หมายความรวมถึงทางส่วน บุคคลที่เจ้าของยินยอมให้ประชาชนใช้ในการจราจรหรือที่เจ้าพนักงานจราจร ได้ประกาศให้เป็นทางตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย แต่ไม่รวมไปถึงทางรถไฟ
(3) "ทางเดินรถ" หมายความว่า พื้นที่ที่ทำไว้สำหรับการเดินรถไม่ว่า ในระดับพื้นดิน ใต้ หรือเหนือพื้นดิน
(4) "ช่องเดินรถ" หมายความว่า ทางเดินรถที่จัดแบ่งเป็นช่องสำหรับ การเดินรถ โดยทำเครื่องหมายเป็นเส้นหรือแนวแบ่งเป็นช่องไว้
(5) "ช่องทางเดินรถประจำทาง" หมายความว่า ช่องเดินรถที่กำหนด ให้เป็นช่องเดินรถสำหรับรถโดยสารประจำทาง หรือรถบรรทุกคนโดยสาร ประเภทที่อธิบดีกำหนด
(6) "ช่องทางเดินรถทางเดียว" หมายความว่าช่องเดินรถใดที่กำหนด ให้ผู้ขับขี่ไปในทิศทางเดียวกันตามเวลาที่เจ้าพนักงานจราจรกำหนด
(7) "ขอบทาง" หมายความว่า แนวริมของทางเดินรถ
(8) "ไหล่ทาง" หมายความว่า พื้นที่ที่ต่อจากขอบทางออกไปทางด้าน ข้างซึ่งยังมิได้จัดทำเป็นทางเท้า
(9) "ทางร่วมทายแยก" หมายความว่า พื้นที่ที่ทางเดินรถตั้งแต่สอง สายตัดผ่านกัน รวมบรรจบกัน หรือติดกัน
(10) "วงเวียน" หมายความว่า ทางเดินรถที่กำหนดให้รถเดินรอบ เครื่องหมายจราจรหรือสิ่งที่สร้างขึ้นในทางร่วมทางแยก
(11) "ทางเท้า" หมายความว่า พื้นที่ที่ทำไว้สำหรับคนเดิน ซึ่งอยู่ข้าง ใดข้างหนึ่งของทาง หรือทั้งสองข้างของทาง หรือส่วนที่อยู่ชิดขอบทางซึ่ง ใช้เป็นสำหรับคนเดิน
(12) "ทางข้าม" หมายความว่า พื้นที่ที่ไว้สำหรับให้คนเดินเท้าข้ามทาง โดยทำเครื่องหมายเป็นเส้นหรือแนวหรือตอกหมุดไว้บนทางและให้หมาย ความรวมถึงพื้นที่ที่ทำให้คนเดินเท้าข้ามไม่ว่าในระดับใต้หรือเหนือพื้นดิน ด้วย
(13) "เขตปลอดภัย" หมายความว่า พื้นที่ในทางเดินรถที่มีเครื่องหมาย แสดงไว้ให้เห็นได้ชัดเจนทุกเวลา สำหรับให้คนเดินเท้าที่ข้างทางหยุดรอหรือ ให้คนที่ขึ้นหรือลงรถหยุดรอก่อนจะข้ามทางต่อไป
(14) "ที่คับขัน" หมายความว่า ทางที่มีการจราจรพลุกพล่านหรือมีสิ่ง กีดขวาง หรือในที่ซึ่งมองเห็นหรือทราบได้ล่วงหน้าว่าอาจเกิดอันตราย หรือ ความเสียหายแก่รถหรือคนได้ง่าย
(15) "รถ" หมายความว่า ยานพาหนะทางบกทุกชนิด เว้นแต่รถไฟ และรถราง
(16) "รถยนตร์" หมายความว่ารถที่มีล้อตั้งแต่สามล้อและเดินด้วยกำลัง เครื่องยนต์ กำลังไฟฟ้าหรือพลังงานอื่น ยกเว้นรถที่เดินบนราง
(17) "รถจักรยานยนตร์" หมายความว่า รถที่เดินด้วยกำลังเครื่องยนต์ กำลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น และมีล้อไม่เกินสองล้อ ถ้ามีพ่วงข้างมีล้อเพิ่มอีก ไม่เกินหนึ่งล้อ
(18) "รถจักรยาน" หมายความว่า รถที่เดินด้วยกำลังของผู้ขับขี่ที่มิใช่ เป็นการลากเข็น
(19) "รถฉุกเฉิน"หมายความว่ารถดับเพลิงและรถพยาบาลของราชการ บริหารส่วนกลาง ราชการบริหารส่วนภูมิภาคและราชการบริหารส่วนท้องถิ่น หรือรถอื่นที่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีให้ใช้ไฟสัญญาณแสงวับวาบ หรือให้ใช้เสียง สัญญาณไซเรน หรือเสียงสัญญาณอย่างอื่นตามที่จะกำหนดให้
(20) "รถบรรทุก" หมายความว่า รถยนตร์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้บรรทุกสิ่ง ของหรือสัตว์
(21) "รถบรรทุกคนโดยสาร" หมายความว่า รถยนตร์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ บรรทุกคนโดยสารเกินเจ็ดคน
(22) "รถโรงเรียน" หมายความว่า รถบรรทุกคนโดยสารที่โรงเรียน ใช้รับส่งนักเรียน
(23) "รถโดยสารประจำทาง" หมายความว่า รถบรรทุกคนโดยสารที่ เดินตามทางที่กำหนดไว้ และเรียกเก็บค่าโดยสารเป็นรายคนตามอัตราที่ วางไว้เป็นระยะทางหรือตลอดทาง
(24) "รถแท็กซี่" หมายความว่า รถยนตร์ที่ใช้รับจ้างบรรทุกคนโดยสาร ไม่เกินเจ็ดคน
(25) "รถลากจูง" หมายความว่า รถยนตร์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้สำหรับลาก จูงรถหรือเครื่องมือการเกษตรหรือเครื่องมือการก่อสร้าง โดยตัวรถนั้นเอง มิได้ใช้สำหรับบรรทุกคนหรือสิ่งของ
(26) "รถพ่วง" หมายความว่า รถที่เคลื่อนที่ไปโดยใช้รถอื่นลากจูง
(27) "มาตรแท็กซี่" หมายความว่า เครื่องแสดงอัตราและค่าโดยสาร ของรถแท็กซี่โดยอาศัยเกณฑ์ระยะทางหรือเวลาการใช้รถแท็กซี่หรือโดย อาศัยทั้งระยะทางและเวลาการใช้รถแท็กซี่
(28) "ผู้ขับขี่" หมายความว่า ผู้ขับรถ ผู้ประจำเครื่องอุปกรณ์การขนส่ง ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่ง ผู้ลากเข็นยานพาหนะ
(29) "คนเดินเท้า" หมายความว่าคนเดินและให้รวมตลอดถึงผู้ใช้เก้าอี้ ล้อสำหรับคนพิการหรือรถสำหรับเด็กด้วย
(30) "เจ้าของรถ" หมายความรวมถึงผู้มีรถไว้ในครอบครองด้วย

credit: http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=04d68b7047d0df1f&table=/guru/subs

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น คุยกันสนุกๆ